วัดทุ่งเศรษฐีกับวัตถุโบราณ
ประวัติความเป็นมาวัดทุ่งเศรษฐี
วัดทุ่งเศรษฐี หรือ วัดห้วยบง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์รหัสไปรษณีย์ 53000 ห่างจากตัวอำเภอ 12 กิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า “วัดห้วยบง” วัดทุ่งเศรษฐี มีฐานะเป็นวัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (ยังไม่มีอุโบสถ) สังกัดสังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 ตัววัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ วัดนี้ตั้งอยู่ริมบึงทุ่งกะโล่ แหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จากตัววัดสามารถมองเห็นทัศนียภาพของบึงทุ่งกะโล่ได้ชัดเจนวัดทุ่งเศรษฐีมีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ทิศเหนือ จดสระน้ำสาธารณะบ้านห้วยบง ทิศใต้ จดโรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี ทิศตะวันออก จดป่าชุมชนบ้านห้วยบง ทิศตะวันตก จดบึงทุ่งกะโล่
การขุดพบเครื่องปั้นดินเผาของบ้านทุ่งเศรษฐี
บึงกะโล่เป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานที่แห่งนี้ มีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่า 7,500 ไร่ หากจะเปรียบเทียบ ก็เปรียบได้กับเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ทั้งเมืองเลยทีเดียว ในปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่านส่วน บึงทุ่งกะโล่ ที่ตั้งอยู่ในเขต บ้านคุ้งตะเภาและบ้านป่าเซ่า ส่วนบ้านป่าเซานั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำน่านเกือบจะตรงข้ามกัน ในเมื่อตัวเมืองอุตรดิตถ์ เป็นศูนย์กลางของการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็น “วิถีชนเมือง” บึงทุ่งกะโล่ หรือแถบทุ่งบ้านคุ้งตะเภา หมู่บ้านโบราณฝั่งตะวันออก จึงเป็นเสมือนศูนย์กลางของ “วิถีชนบท” ที่เรียบง่าย และยังยึดมั่นอยู่กับวิถีความเชื่อแบบชาวบ้านและพระศาสนาเป็นวิถีที่ตรงข้าม โดยมีสายใยชีวิตเป็นตัวแบ่งเขตแห่งความเจริญทางวัตถุ นั่นคือ “แม่น้ำน่าน” การพัฒนาเมืองอุตรดิตถ์ในช่วง 50-60 ปี ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองฝั่งทิศตะวันตก โดยมีหน่วยงานราชการและศูนย์กลางสถานศึกษาเป็นจุดเร้าสำคัญปล่อยให้ฝั่งตะวันออก อยู่ในรูปแบบวิถีเรียบง่าย อย่างไทยๆ ที่คงมีเรื่องราวเล่าของ เสือ กวาง ช้าง ป่าโบราณ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เคยมีเมื่อ 60 กว่าปีก่อน ก่อนจะหายไปหมดในช่วงหลังความเจริญเริ่มคืบคลานเข้ามาเป็นตำนานผูกพันธุ์คนพื้นถิ่นที่แยกไม่ออกกับวิถีที่พึ่งพิงธรรมชาติ แถบบ้านในตำบลคุ้งตะเภา หมู่บ้านโบราณที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 250 ปี นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปู่ย่ามักมีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับตำนานทุ่งกะโล่มากมาย เช่น ตำนานปู่โสม ตำนานป่าไผ่หลวง แต่ทั้งหมดได้สูญไปจากวิถีชีวิตหมดแล้ว จากการถางที่ทำไร่นาในช่วงหลังเหลืออยู่เพียงตำนานเมืองล่มทุ่งกะโล่ เพียงเรื่องเดียว ที่ยังคงถูกเล่าอยู่ และยังไม่ได้ถูกทำลายหรือพิสูจน์ทราบ เป็นมนต์ขลังที่ยังคงไม่เสื่อมคลายไปจากวิถีสำนึกของคนแถบคนลุ่มน้ำน่านฝั่งตะวันออก “ทุ่งกะโล่ หรือ บึงกะโล่ อันกว้างใหญ่ไพศาล ในอดีตกาลนั้น เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอันรุ่งเรือง แต่แล้วเมื่อใดไม่ปรากฏ เมืองแห่งนี้ก็ได้ล่มจมหายสาบสูญไปจากพื้นพิภพ กลายเป็นหนองปลักอ้อกอไม้น้ำหรือผักตบชวาที่รู้จักกันดีนั้นเองปรากฏนามขาน ในปัจจุบันว่า บึงทุ่งกะโล่สืบมา” นอกจากตำนานแล้ว ยังมีคำปากคำเล่า สืบความที่ประสบมาว่า อันทุ่งกะโล่นั้น มีอาถรรพ์ลี้ลับซ่อนอยู่ จะด้วยฤทธิ์เจ้าพ่อกะโล่ หรือฤทธิ์เมืองร้างโบราณอันลึกลับ ผู้กระทำหยาม เหยียดรบกวนอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์นี้ จะมีอันเป็นไปชาวบ้านไร่น่าแถบนั้น มักเล่ากันว่า กลางทุ่งกะโล่ มีอัศจรรย์แปลกๆ ขึ้นบ่อยครั้ง เวลากลางดึกวันพระวันโกน มักมีแสงไฟประหนึ่งพลุ สว่างพุ่งออกมาจากหนองกออ้อกลางบึงด้วยตำนานเล่าขานและเรื่องราวอัศจรรย์แปลกๆ ที่คนรุ่นนี้ได้พบกับตน บึงทุ่งกะโล่ จึงเป็นสถานที่อาถรรพ์แห่งหนึ่งที่มีเสน่ห์แห่งความ “ลึกลับ” อันน่าสนใจยิ่งในปี พ.ศ. 2553 เป็นที่ทราบกันดี จากเหตุการณ์เอลนีโญ่อ่อนๆ ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ฝนตกในบริเวณฝั่งทะเลมหาสมุทรแปซิฝิกตะวันออกน้อย เป็นเหตุการณ์น้ำแล้งที่ถือว่ารุนแรงในรอบสิบปีของประเทศบึงทุ่งกะโล่ ที่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของแผนที่โลก จึงได้รับผลกระทบไปโดยปริยาย เช่นเดียวกับน้ำในเขื่อนทั่วประเทศไทยที่แห้งขอดอย่างหนัก แม้จะเข้าเดือน พฤษภา มิถุนา ที่ถือว่าเป็นช่วงต้นฤดูฝน ที่ฝนควรจะตกหนักจนบึงหนองเต็มล้นไปด้วยน้ำก็ตามที่ แม้เหตุการณ์แห้งแล้งดังกล่าว จะแวะเวียนมาเยี่ยมประเทศไทย
ในรอบทุกๆ 10 ปี แต่ปีนี้ บึงทุ่งกะโล่ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในฐานะพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งอาศัยของนกและสัตว์น้ำนานาพรรณเพราะปีนี้ ทุ่งกะโล่ ถูกไฟไหม้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เป็นไฟที่จุดโดยชาวบ้านริมบึง ทำให้ ต้นกกอ้อ ที่สูงกว่า 3-4 เมตร สูงท่วมช่วงสองช่วงคน ต้นกกอ้อ เคยที่เขียวขจีตลอดศก เป็นแหล่งพึ่งพิงของสัตว์ทั้งหลาย และเอกลักษณ์สำคัญของบึงกะโล่แห่งนี้และที่สำคัญ ต้นกกอ้อ ที่เก็บงำตำนานเล่าขานอาถรรพ์ไว้ภายใน สถานที่ไม่เคยมีคนย่างกรายเข้าไปภายในมานับร้อยๆ ปี ถูกไฟไหม้ลามหมดทั้งอาณาเขตกลางบึงกว่า 7,000 ไร่กลายเป็นบึงร้าง ที่เต็มไปด้วยซากกกอ้อกอไม้ ฝุ่นผงสูงท่วมหัวเข่า และซากเต่าซากสัตว์น้ำมากมายที่ถูกพลีในกองเพลิง เป็นมหาวิบัติที่ร้ายแรงครั้งหนึ่งของบึงกะโล่แห่งนี้ ที่ทำลายสรวงสวรรค์ของสรรพสัตว์จนสิ้นซาก และปิดฉากตำนานแหล่งดูนกน้ำสำคัญของเมืองอุตรดิตถ์ไปโดยปริยายกลายเป็นพื้นดินแห้งผาก แตกระแหง ที่กินอาณาบริเวณกว่า 7,000 ไร่ ตำนานเมืองของสรรพชีวิน ได้ล่มลงแล้ว สวนทางกับ ตำนานปรัมปราของชาวบ้าน วันหนึ่งในเช้าปลายเดือนพฤษภาคม 53 ลุงผู้เลี้ยงวัวแห่งบ้านห้วยบงได้ต้อนกลุ่มวัวที่ครอบครัวของลุงเลี้ยงไว้ ไปหากินหญ้าในบึงเก่าที่พึ่งแตกใบ หลังถูกเพลิงผลาญไปไม่นาน ลุงต้อนวัวไป ดูบึงเก่าไป ด้วยใจที่ไม่ปกติ บึงน้ำได้หายไปแล้ว เหลือแต่ตมโคลนแห้งผาก “ทำอะไรดี ทำนา ทำไร่ เอาวัวมาปล่อยทิ้งแถวนี้เลยดีไหม เอ๊ะ! หรือจะมาสร้างเพิงทำบ้านแถวนี้ดี ไกลผู้คน วัวหากินสบาย ไม่ต้องแย่งกะวัวคนอื่น ฯลฯ” ลุงคนนี้คิดสะระตะไปเรื่อย ทั้งๆ ที่บางอย่างมันเป็นไปไม่ได้ แต่ลุงก็คิด เพื่อไม่ให้ใจลุงกังวลและ “กลัว” เพราะกลางบึงกะโล่แห่งนี้มันคือที่สถิตย์แห่งตำนานอาถรรพ์และ ลุงก็ได้ก้าวเข้ามาในดินแดนอาถรรพ์แห่งนั้นแล้ว เพียงแต่ตอนนี้มันไม่มีกำแพงแห่งตำนาน คือกกอ้อที่ขวางกั้น “มีแต่ทุ่ง กับทุ่ง ทุ่ง จริง ๆ ทุ่งกะโล่ ตอนนี้ไม่ควรเรียงบึง เรียกทุ่งดีกว่า"กลุ่มวัวคงเดินต่อไป เดินไปสู่กลางใจบึงเก่าวันนั้น ลุงไม่ได้ต้อน ไม่ได้นำ แค่เป็นผู้ตามวัวที่ดี รอบๆ บึงมันก็มีหญ้าใบอ่อนแตกขึ้น มันพาเข้ามาทำอะไรกลางบึง มีแต่ซากต้นกกอ้อ” ทันใดนั้น กลุ่มวัวได้หยุดลงและเดินวนไปมาลุงเลี้ยงวัวตามมา และได้พบกับสิ่งนี้กลุ่มเสา ที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง เรื่องพบของและสิ่งปลูกสร้างโบราณได้กระจายไปทั่วหมู่บ้านต่างคนต่างพากันมาดู และขุดคุ้ยสถานที่แห่งนี้บ้างเชื่อว่า เป็นเมืองโบราณในตำนาน บ้างก็ว่า เป็นวัดโบราณแต่ที่ ประหลาดก็คือ ทำไมข้าวของเหล่านี้จึงมาอยู่ในที่ ๆ เป็นกลางบึงโบราณ ที่ไม่น่าอยู่แห่งนี้ และทำไมต้องมาอยู่รอบ ๆ กลุ่มเสาไม้โบราณด้วยด้วยตำนาน เรื่องราวเล่าขาน บางคนบอกว่า นี่คือที่ตั้งเมืองโบราณที่สูญหาย ตำนานแห่งเมืองกะโล่ ที่ถูกค้นพบใหม่แต่บางคนไม่สนใจ พบข้าวของก็นำกลับไปบ้านหวังเอาเป็นของตัว เหลือแต่ของ
แตกหักไว้ที่วัดทุ่งเศรษฐี วัดน้อยริมบึง วัดประจำหมู่บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวรู้ดีกันเอง เสียงบ่นของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ที่ไม่เห็นด้วยกับการนำวัตถุโบราณของชาติไปเป็นสมบัติส่วนตัว ตกดึกคืนนั้น ทุกคนที่นำของเก่ากลับบ้าน ต่างเจอ “ของดี” กันทุกคนและแล้ว วัดทุ่งเศรษฐี ก็เต็มไปด้วยของโบราณสภาพสมบูรณ์ที่ถูกนำมา “คืน” ให้ส่วนรวม นับพันชิ้นที่จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าบางสิ่งไม่ไปบอกให้เห็นกับตัวขันพูดได้ กระบวยพูดเป็นผีหลอกยกหมู่บ้านสิ่งที่ชาวบ้านนำมาคืน มีทั้งถาด ถ้วย กระบวยโบราณ ตลับ หม้อดิน ภาชนะโลหะ และทองคำ พร้อมๆกับความสามัคคีของชาวบ้านห้วยบง ที่พร้อมใจกันยกสมบัตินี้ให้แก่ส่วนรวม ความต้องการของชาวบ้านที่จะมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงอย่างเป็นสัดส่วน และการพร้อมใจกันสร้างตู้จัดแสดงวัตถุโบราณ ด้วยฝีมือของคนในหมู่บ้านภายในเวลาเพียงวันเดียวแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการปกปักษ์รักษาสมบัติของชาตินี้ให้คงอยู่ ตลอดไปสิ่งของโบราณและความสามัคคีของชาวบ้าน จึงมาพร้อมกัน เพื่อต้อนรับผู้คนจากทั่วสารทิศ ที่ปรารถนามาดู มาชม มาดม มามอง ขอเลข ขอเบอร์ กับของโบราณพบใหม่เหล่านี้ไปตามประสารวมทั้งนักข่าวและ “เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร” ศัตรูตัวฉกาจในสำนึกของชาวอุตรดิตถ์รุ่นเก่า ที่ยังคงแค้นใจไม่หายที่นำพระฝางไปกรุงเทพ และยังไม่นำมาคืน(จากหลักฐานในประวัติศาสตร์นั้น ในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการอัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานไว้กรุงเทพ ไม่ใช่โดยกรมศิลปากร แต่ด้วยสำนึกของชาวบ้าน ก็โทษว่า “หลวง” เอาไป และในปัจจุบัน “หลวง” ที่ว่า ก็คือ “ศิลปากร” ศิลปากรจึงตกเป็นแพะรับบาปไปโดยปริยาย)ด้วยเหตุนี้เองกระมัง ที่ทำให้ ชาวบ้านปิดกั้น ไม่ยอมเปิดเผยตำแหน่งที่ค้นพบวัตถุโบราณแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถูกต้อง และค้นพบ ข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่อาจเป็นคำตอบของตำนานเมืองล่มโบราณได้ชัดเจนกว่านี้ตำนานคือเรื่องในอดีต
|