หมู่บ้านวิทยาวัววิทยา (ววว.)
หมู่บ้านวิทยาลัยวัววิทยา (ววว.) หมายถึง การเป็นหมู่บ้านต้นแบบและการเป็นที่เรียนรู้ของการพัฒนาคน โดยมีกิจกรรมหลักของการพัฒนาหมู่บ้านเกี่ยวกับข้องกับโคเนื้อ ผ่านการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ หมู่บ้านวิทยาลัยวัววิทยา ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยบง หมู่ที่ 7 ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
บ้านห้วยบงจะมีความโดดเด่นในการเลี้ยงโคเนื้อจำนวนมาก แต่ก็ยังขาดการใช้เทคโนโลยีที่
เหมาะสม (Appropriate Technology) สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ไม่ว่าเป็นในเรื่องของ
สายพันธุ์ ที่ขาดการนำพ่อพันธุ์หรือเทคโนโลยีด้านการผสมเทียม (Artificial Insemination) มาปรับใช้ เช่น
ชุมชนสามารถนำพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพของบ้านห้วยบงมาส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์ (Grading Up) เช่น
โคพันธุ์ตาก (ลูกผสมระหว่าง อเมริกันบราห์มันกับชาโรเล่ส์) ทั้งในรูปของการผลิตโคเนื้อ หรือการพัฒนาลูกโค
เพศผู้สู่โคขุนในตลาดระดับปานกลาง รวมทั้งการวางแผนการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์การผลิต
สัตว์ ฯลฯ ขณะที่การพัฒนาด้านอาหารสัตว์ ที่หมู่บ้านใช้ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ตามหัวไร่ปลายนาเลี้ยงโคใน
ปัจจุบัน ซึ่งคุณค่าทางอาหารของพืชอาหารสัตว์ค่อนข้างต่ำ จึงควรใช้พันธุ์พืชอาหารสัตว์ (Forage Crop) ที่มี
ผลผลิตต่อไร่สูง และมีคุณค่าอาหารคือ โปรตีนสูง มาพัฒนาเป็นแปลงหญ้าในพื้นที่สาธารณะและแปลงส่วน
บุคคล รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ เช่น ต้นข้าวโพด ฟางข้าว ยอดอ้อย
โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในกระบวนการหมัก (Fermentation) เพื่อเพิ่มโปรตีนในอาหารสัตว์
ทางด้านการจัดการฟาร์มโค โดยเฉพาะโรคและแมลงในโคเนื้อ ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้
สารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งส่งผลต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคและมีต้นทุนการผลิตที่สูงโดยไม่จำเป็น เกษตรกรสามารถที่
นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์ทางกีฎวิทยา เข้ามาจัดการเห็บโค แมลงวันคอกสัตว์ได้โดยใช้ชีววิธี (Biocontrol) รวมถึงการจัดการของเสียจากคอกสัตว์และครัวเรือน (นอกเหนือจากการจำหน่ายมูลโคตากแห้ง)เช่น การทำแก๊สชีวภาพ (Bio-gas) จากมูลโคใช้ภายในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการทำปุ๋ยอินทรีย์จากมูลโคที่สามารถระบุและเทียบค่าธาตุอาหารหลัก (N P K) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบ่งใช้ในพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งการย่อยสลายขยะครัวเรือนด้วยไส้เดือนดิน (Earth Worm) การบำบัดน้ำเสียด้วย
ธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” ฯลฯ
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากโค โดยการศึกษาเทคนิควิธีการ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการรู้เท่าทัน
กับมาตรฐานความปลอดภัยในระดับต่างๆ โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้จะทำให้โอกาสของการแข่งขันและการเพิ่ม
มูลค่าผลผลิตของเกษตรกรบ้านห้วยบงเพิ่มขึ้น โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่ร่วมกับชุมชน
ได้ โดยมิได้เปลี่ยนแปลงวิถีหลักของชุมชนแต่ประการใด
ดังนั้น หมู่บ้านวิทยาลัยวัววิทยา(Beef S&T Knowledge Center) บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ในครั้งนี้ จึงเป็นโครงการพัฒนาที่ใช้วงจรของการผลิตโค มาเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบครบวงจรในมุมมองเชิงระบบ (System Approach) เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเป็นการเพิ่มมูลค่าของการผลิตโคอย่างสอดคล้องกับบริบท บนหลักวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ในลักษณะของเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) โดยมุ่งหวังให้ชุมชนได้พิจารณาและมีส่วนร่วมในการกำหนดการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับระดับครัวเรือน (ส่วนบุคคล) รวมทั้งการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านในระดับชุมชน (ส่วนรวม) สำหรับการสังเคราะห์และพัฒนาไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นในด้านการพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีสุขภาวะที่ดีในสังคมต่อไป
|