วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลป่าเซ่า  “ตำบลป่าเซ่าเมืองน่าอยู่ สาธารณูปโภคพร้อม สิ่งแวดล้อมดี  คนมีคุณธรรม เลิศล้ำการศึกษา  เศรษฐกิจก้าวหน้า นำพาคุณภาพชีวิตที่ดี” 

 
ภาษีบำรุงท้องที่
 

ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
             พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน 
 

เจ้าของที่ดินใดบ้างที่ไม่เสียภาษี 
           1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
           2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้มาซึ่งผลประโยชน์
           3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
           4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
           5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
           6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือ ฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
           7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
           8. ที่ดินที่ใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว 
           9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
         10. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง

ภาษีบำรุงท้องที่ลดหย่อนภาษีได้
ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่จะน้อยกว่า 3 ไร่ ไม่ได้
ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่า ไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น

ขั้นตอนการชำระภาษีทำอย่างไร? 
           1. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคม ทุกๆ 4 ปี
           2. หากไม่ยื่นภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ต้องชำระ
           3. ยื่นชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากไม่ยื่นชำระภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


วัน ศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2567

สาระดีๆจากศาลปกครอง
200
ข้อมูลสนามกี่ฬา
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศูนย์ข้อมูข่าวสาร ทต.ป่าเซ่า
facebook
จังหวัดอุตรดิตถ์
สนง.ท้องถิ่นอุตรดิตถ์
Login
bangkokidea
hotmail
สมาคมพนักงานเทศบาล
เฟสบุค
กระทรวงมหาดไทย
ฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาล
สายด่วน 1111
กพ.
กรมการค้าภายใน
กรมพัฒนาชุมชน
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
otop
จัดซื้อ จัดจ้าง
สสส.
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
ดูทีวี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย